top of page

ความรู้ด้านกายภาพบำบัด

การนวดเปิดท่อน้ำนม

เป็นการใช้ความร้อนลึกร่วมกับการนวดในการรักษา เพื่อลดปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน บรรเทาอาการปวด และเพิ่มการไหลเวียนของน้ำนม นอกจากการนวดโดยนักกายภาพบำบัดแล้ว การนวดเคลียร์เต้าด้วยตนเอง ก็สามารถช่วยลดปัญหาการเกิดท่อน้ำนมอุดตันได้ด้วยเช่นกัน

   ท่าทางที่เหมาะสม/ไม่เหมาะสม

โดยปกติร่างกายของเราจะอยู่ในแนวตรง หากมีคอยืน ไหล่งุ้ม หลังแอ่น ซึ่งถือเป็นท่าทางที่ไม่เหมาะสม จะทำให้กล้ามเนื้อทั้งสองฝั่งทำงานได้ไม่เท่ากัน อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บและอาการปวดได้ในอนาคต

การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ

แกนกลางลำตัว

คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อกระบังลม และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับร่างกาย ขณะที่มีการเคลื่อนไหวในท่าทางต่าง ๆ

ออฟฟิศซินโดรม

 ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) หรืออาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว จนทำให้เกิดปมกล้ามเนื้อภายในมัดกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นเลือด เส้นประสาท เป็นอุปสรรคในการไหลเวียนเลือด และทำให้กล้ามเนื้อได้รับสารอาหาร (Oxygen) ไม่เพียงพอ

เอ็นนิ้วโป้งอักเสบ

โรคปลอกหุ้มเอ็นนิ้วโป้งอักเสบ (De quervain’s Tenosynovitis) เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วโป้ง มักพบในผู้ที่มีการใช้งานข้อมือเยอะ เช่น แม่บ้าน พ่อค้าแม่ค้า พนักงานออฟฟิศ นักเรียน/นักศึกษา หรือแม้กระทั่งคุณแม่หลังคลอด ที่ต้องมีการปั๊มน้ำนมและอุ้มลูกน้อยอยู่ตลอด ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว

Lower cross syndrome

ภาวะหลังแอ่น (Lower Cross Syndrome) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อด้านหน้าและด้านหลังทำงานไม่สมดุลกัน กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง กล้ามเนื้อหลังมีความตึงตัวมากกว่า ร่วมกับกล้ามเนื้อเหยียดสะโพกด้านหลังอ่อนแรง กล้ามเนื้องอสะโพกด้านหน้าตึงตัว ทำให้เกิดการหมุนของกระดูกเชิงกรานไปทางด้านหน้ามากเกินไปก่อให้เกิดท่าทางที่ทำให้ "พุงยื่น หลังแอ่น" และมีอาการปวดหลังตามมาได้

สมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เป็นภาวะที่สมองทำงานได้แย่ลงในหลายด้าน เช่น ความจำ การตัดสินใจ การใช้ภาษา สมาธิและการจดจ่อ เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการหลงลืม สับสน จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไม่มากก็น้อย

เอ็นข้อศอกอักเสบ

ภาวะเอ็นข้อศอกอักเสบสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Tennis Elbow และ Golfer's Elbow ทั้งสองภาวะนี้ไม่ได้เกิดกับผู้ที่เล่นกีฬาสองชนิดนี้เท่านั้น แต่มักจะเกิดในผู้ที่มีการใช้งานข้อศอกและข้อมือซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานหนักหรืองานเบา ก็ทำให้มีการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อขึ้นมาได้ เช่น เล่นกีฬา ทำงานบ้าน ช่างฉาบปูน ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เป็นต้น

รองช้ำ

รองช้ำ (Plantar Fasciitis) หรือโรคพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ

จะมีการอักเสบของพังผืดบริเวณฝ่าเท้า ส้นเท้า ไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) ที่เป็นเอ็นของกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งมักเกิดจากการเสียดสี หรือรับน้ำหนักมาก ๆ มักพบในผู้ที่ต้องทำกิจกรรมยืน/เดินเยอะ ๆ ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ

สลักเพชรจม

สลักเพชรจม หรือภาวะกล้ามเนื้อก้นมัดลึกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) ซึ่งกล้ามเนื้อมัดนี้ หากมีความตึงตัวมาก ๆ จะส่งผลให้ไปหนีบเส้นประสาท Sciatic nerve ที่ลอดผ่านบริเวณนั้นได้ โดยอาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากการใช้กล้ามเนื้อซ้ำ ๆ นั่ง ยืน หรือเดิน ติดต่อกันเป็นเวลานาน

นิ้วล็อค

โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) คือ ภาวะที่มีความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดนิ้วมือได้อย่างปกติ ซึ่งเกิดจากเส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วมีการหนาตัวขึ้น ปลอกหุ้มเอ็นรัดแน่นขึ้น ขัดขวางการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ

ข้อไหล่ติด

โรคข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) เป็นภาวะที่เกิดการติดหรือดึงรั้งของโครงสร้างภายในข้อไหล่ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรืออักเสบที่ข้อไหล่ และไม่ได้ขยับหรือเคลื่อนไหวข้อไหล่เท่าที่ควร ซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะเอ็นข้อไหล่อักเสบหรือเกิดจากการผ่าตัดโครงสร้างบริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่ 

การออกกำลังกายในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดที่อ่อนแรงเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันภาวะข้อติด ให้สามารถใช้งานและสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของระบบกล้ามเนื้อ   ระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อสุขภาพที่ดีและชะลอการเสื่อมของร่างกาย

เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

เครื่องมือทางกายภาพบำบัดคือเครื่องมือที่ใช้ในทางกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา อย่างเช่น Hot Pack, Ultrasound, Radial Shockwave, High power laser, Electrical stimulation

การฝังเข็ม

การฝังเข็มแบ่งออกเป็น 2 แบบ

1. Dry needling จะช่วยในการคลายปมกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง 

2. Acupuncture หรือการฝังเข็มแบบจีน ช่วยในการปรับสมดุล เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองในร่างกาย เพื่อความผ่อนคลาย

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) คือภาวะหมอนรองกระดูก ที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อไม่อยู่ในแนวเดิม มีการปูด บวม หรือ แตกออกมาทับ หรือระคายเคืองเส้นประสาทที่ออกมาจากช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง โดยอาจเกิดได้ทั้งระดับคอ และระดับเอว แต่ส่วนมากจะพบที่ระดับเอวเป็นส่วนใหญ่

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง และเอ็นบริเวณช่องกระดูกสันหลังหนาตัวขึ้น จนทำให้โพรงกระดูกสันหลังและช่องระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อตีบแคบลง เกิดการกดทับไขสันหลังและรากประสาท หรือรบกวนรากประสาททำให้มีอาการปวดบริเวณหลังหรือเอว ปวดสะโพก และมีอาการปวดหรือชาลงขา

จุดกดเจ็บบนกล้ามเนื้อ

    จุดกดเจ็บ (Trigger Point) เป็นชื่อเรียก ตำแหน่งของปมกล้ามเนื้อในมัดกล้ามเนื้อ ที่มีการหดเกร็งตัวมาก จากการใช้งาน จะมีลักษณะคลำได้เป็นก้อนแข็ง อยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ และเป็นจุดที่หากมีการกระตุ้น หรือตรวจด้วยการกด จะมีอาการเจ็บ และร้าวไปยังบริเวณใกล้เคียง

เอ้นต้นขาด้านข้าง/ข้างเข่าอักเสบ

การบาดเจ็บของเอ็นต้นขาด้านข้าง/ข้างเข่า มักเกิดจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อสะโพกด้านนอก (Tensor facia latae muscle) ที่เกาะไปยังเอ็นต้นขาด้านข้าง ทำให้เอ็นต้นขาด้านข้างมีความเกร็งตัวมากขึ้น ร่วมกับกล้ามเนื้อกางสะโพก และกล้ามเนื้อเหยียดสะโพกไม่แข็งแรง ส่งผลให้ขณะเคลื่อนไหวขาในท่างอและเหยียดเข่าซ้ำ ๆ เกิดอาการบาดเจ็บและอักเสบ ทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้นได้

สถานที่ตั้ง

 513 พระรามเก้า ซอย 13 ถนนพระรามเก้า

แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครฯ 10310

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ

  • Facebook
  • Line
  • Instagram

เวลาเปิดทำการ

วันจันทร์-วันอาทิตย์

9.00 น. - 20.00 น.

©2023 by Pace Wellness Clinic. Proudly created with Wix.com

bottom of page