top of page

เอ็นกล้ามเนื้อต้นขา/ข้างเข่าอักเสบ (ITB Syndrome)

เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบ หรือ ITB syndrome (Iliotibial Band Syndrome)

          อาการเจ็บต้นขาทางด้านนอก เป็นปัญหาที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบเยอะในกลุ่มนักวิ่ง วิ่งเทรล ปั่นจักรยาน และมีโอกาสพบในกลุ่มนักกีฬา นักฟุตบอล นักบาสเกตบอล นักแบดมินตัน เป็นต้น ซึ่งกีฬาดังกล่าวต้องมีการใช้งานของกล้ามเนื้อขาในการเดิน วิ่ง หรือกระโดด และต้องใช้ความเร็ว ความเร่ง มีการเคลื่อนไหวของขาในการงอเหยียด ซ้ำ ๆ จนทำให้การมีบาดเจ็บและอักเสบของเอ็นต้นขาด้านข้าง ซึ่งมักจะมีอาการปวดบริเวณเข่าทางด้านนอกและสะโพกด้านนอก

 

ลักษณะโครงสร้างของเอ็นต้นขาด้านข้าง

Iliotibial Band

         คือ แถบเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้าง จุดเกาะต้นของแถบเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้าง (Tensor fascia latae muscle) ซึ่งเกาะที่บริเวณกระดูกสะโพก (Ilium) ไปยังจุดเกาะปลายที่ปุ่มกระดูกด้านนอกของกระดูกต้นขา (Lateral femoral condyle) และปุ่มกระดูกด้านนอกของกระดูกขาท่อนล่าง (Gerdy’s Tubercle) แถบเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกนี้ ไม่ได้มาจากกล้ามเนื้อ Tensor fascia latae เพียงอย่างเดียว ยังมีบางส่วนกล้ามเนื้อก้น (Gluteus maximus muscle) มาเกาะร่วมอีกด้วย

 

 

 


 

 

 (ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.melbournesportsphysiotherapy.com.au/blog-articles/2019/what-is-illiotibial-band-itb-friction-syndrome)

สาเหตุ

  1. มีการเสียดสีของเอ็นต้นของด้านนอก (Iliotibial band) กับปุ่มกระดูกต้นขาด้านข้าง (Lateral femoral epicondyle) ในขณะที่มีการเคลื่อนไหว งอเข่าและเหยียดเข่าซ้ำ ๆ

  2. มีการกดเบียดของไขมันและเนื้อเยื่ออ่อนใต้เอ็นต้นขาด้านข้าง

  3. การอักเสบรื้อรังของถุงน้ำใต้เอ็นต้นขาด้านข้าง (Iliotibial band bursa)

       

          ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บหรืออักเสบ เกิดจากกล้ามเนื้อรยางค์ขาไม่ค่อยแข็ง เช่น กล้ามเนื้อกางสะโพก (Hip abdutor muscle) และกล้ามเนื้อเหยียดสะโพก (Gluteus maximus) ไม่แข็งแรง ร่วมกับมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อสะโพกด้านนอก (Tensor facia latae muscle) ที่เกาะไปยังเอ็นต้นขาด้านข้าง และทำให้เอ็นต้นขาด้านข้างมีความเกร็งตัวที่มากขึ้น ส่งผลให้ขณะเคลื่อนไหวขาในท่างอและเหยียดเข่าซ้ำ ๆ เกิดอาการบาดเจ็บและอักเสบ ทำให้มีอาการปวดเข่าทางด้านนอก (Lateral knee pain)

 

อาการและอาการแสดง

  • ปวดเข่าทางด้านนอก หรือมีอาการตึงต้นขาด้านข้าง

  • งอและเหยียดเข่าจะมีอาการปวดในมุม 30 องศา

  • ปวดขณะเดินและวิ่ง

  • จะมีอาการปวดมากขึ้นขณะเดินลงบัดไดหรือวิ่งลงเขา

 

การรักษาและดูแลอาการเบื้องต้น

  • หยุดพักการเล่นกีฬา หรือหยุดวิ่ง

  • ประคบน้ำแข็ง หรือประคบด้วยเจลเย็น

  • ลดอาการปวด เช่น ทานยาหรือทายาลดปวดลดอักเสบ

  • ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดปวด ลดอักเสบ

  • ออกกำลังกายและยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

ท่าออกกำลังกายสำหรับ ITB syndrome

1. เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสะโพก

  • ใช้ foam roller วางบนพื้น แล้วนอนตะแคงให้เอ็นต้นขาด้านข้างวางทับบน foam roller ชันขาอีกข้างขึ้น เพื่อออกแรงให้ตำแหน่งที่ต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นกลิ้งบน foam roller ประมาณ 10-15 วินาที



 


 


 

2. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกที่ใช้กางขา

  • เริ่มจากท่านอนตะแคง ค่อย ๆ ออกแรงกางขาขึ้น ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที แล้วค่อย ๆ วางขาลง โดยทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 รอบ



 



 

3. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหมุนสะโพก

  • เริ่มจากท่านอนตะแคง งอเข่า 2 ข้าง ค่อย ๆ ออกแรงกางขาออกจากกันโดยที่ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน ค้างไว้ประมาณ 5 - 10 วินาที แล้วค่อย ๆ วางขาลงสู่ท่าเริ่มต้น โดยทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 รอบ และสามารถเพิ่มความยากโดยการใช้ยางยืดร่วมด้วยได้





 

4. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพก (Squat exercise)

  • เริ่มจากท่ายืนตรง กางขาออกกว้างประมาณหัวไหล่ ค่อย ๆ ออกแรงย่อขาลงโดยไม่ให้หัวเข่าพ้นปลายเท้า แล้วค่อย ๆ ออกแรงยืดตัวขึ้นตรง โดยทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 รอบ และสามารถเพิ่มความยากโดยการใช้ยางยืดร่วมด้วยได้

Location

 513 Rama 9 Soi 13, Rama 9 Road

Bang Kapi Subdistrict, Huai Khwang District, Bangkok 10310

Contact phone number

  • Facebook
  • Line
  • Instagram

Opening hours

Monday-Sunday

9:00 a.m. - 8:00 p.m.

©2023 by Pace Wellness Clinic. Proudly created with Wix.com

bottom of page