top of page

สลักเพชรจม (PIRIFORMIS SYNDROME)

           สลักเพชรจม หรือ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (piriformis syndrome) เกิดจากโครงสร้างของกล้ามเนื้อสะโพก (piriformis muscle) ซึ่งทำหน้าที่หมุนสะโพก (Hip external rotation) และเหยียดสะโพก (Hip extension) กล้ามเนื้อนี้มีความสำคัญในการช่วยเพิ่มความมั่นคงของสะโพก ซึ่งกล้ามเนื้อมัดนี้จะมีเส้นประสาท Sciatic nerve ที่ออกมาจากไขสันหลัง ลอดใต้กล้ามเนื้อลงไปเลี้ยงทั้งขา ทำหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้อให้เกิดการทำงานและรับความรู้สึกบริเวณขาข้างนั้น

           ถ้ากล้ามเนื้อ Piriformis เกิดการหดเกร็งจนไปทับหรือเบียดเส้นประสาท Sciatic nerve จะเกิดการอักเสบและมีอาการเจ็บบริเวณก้นย้อย หรือมีอาการปวดร้าวและชาลงมาที่ขาทางด้านหลังตามแนวเส้นประสาท ถ้ามีอาการกดทับมากหรือกดทับมานาน อาจจะทำให้มีอาการอ่อนแรงของขาได้

 

สาเหตุ

        1. อุบัติเหตุหรือบาดเจ็บบริเวณก้นกบและสะโพก จึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บและอักเสบ หรือกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว จนไปกดทับเส้นประสาทได้

        2. นั่งหรือยืนเป็นเวลานาน เป็นการใช้งานที่มากเกินไป ทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็ก ๆ ซ้ำ ๆ จนกล้ามเนื้อหดเป็นปมหรือเกิดผังพืด ไปกดทับเส้นประสาท (Sciatic nerve) จนเกิดอาการปวดตามมาได้ ลักษณะงานที่ทำให้เกิดอาการ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานขับรถ หรือขับรถจักยานยนต์ เป็นต้น

        3. เกิดจากโครงสร้างการวางตัวของเส้นประสาท (Sciatic nerve) และกล้ามเนื้อสะโพก (Piriformis muscle) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ

    

                         

 

a. 88% พบมากที่สุด โดยพบว่าเส้นประสาท Sciatic จะลอดผ่านใต้กล้ามเนื้อ Piriformis

b. 11% พบรองลงมา โดยกล้ามเนื้อ Piriformis ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนจากเส้นประสาท Sciatic และแขนง แทรกผ่านกลางกล้ามเนื้อ Piriformis

c. 0.86% พบเป็นลำดับที่ 3 โดยแขนงของเส้นประสาท Sciatic วางพาดด้านบนและลอดผ่านใต้ของกล้ามเนื้อ Piriformis

d. 0.13% พบน้อยที่สุดโดยเส้นประสาท Sciatic นี้ทะลุผ่านกลางกล้ามเนื้อ Piriformis

อาการและอาการแสดง

  • ปวดบริเวณสะโพกขณะนั่งหรือยืนนาน ๆ

  • มีอาการปวดร้าวหรือชาลงขาด้านหลังของข้างที่ถูกกดทับ

  • มีอาการอ่อนแรงของขาหรือปลายเท้าตก ถ้ามีอาการการกดทับเส้นประสาทเยอะและนาน

 

การป้องกันและรักษา

การรักษาทางกายภาพบำบัด จะเป็นการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบ และลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เช่น

  • การประคบร้อน

  • การใช้เครื่องอัลตราซาวด์

  • การใช้เครื่องซ็อคเวฟ

  • การทำหัตการจากนักกายภาพบำบัด เช่น นวด ยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกาย

 

ท่าออกกำลังสำหรับสลักเพชรจม 

1. ท่ายืดกล้ามเนื้อหมุนสะโพก

  • เริ่มจากท่านอนหงาย ขาข้างที่ต้องการยืดไขว้ขาอีกข้าง (ลักษณะเหมือนเลขสี่) เอามือ 2 ข้างประสานกันใต้ข้อพับเข่าข้างที่ไม่ได้ยืด แล้วออกแรงดึงเข้าหาลำตัว จะรู้สึกตึงสะโพกข้างที่ต้องการยืด ค้างไว้ 15-20 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

2. ท่ายืดกล้ามเนื้อสะโพก

  • เริ่มจากท่านอนหงายชันขาข้างที่ต้องการยืด เอามือสองข้างประสานใต้ข้อพับเข่า หลังจากนั้นค่อย ๆ ดึงขึ้นทิศทางเข้าหาลำตัว จนรู้สึกตึงสะโพกข้างที่ยืด ค้างไว้ 15-20 นาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

3. ท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพก

  • นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง กางขาเล็กน้อย ค่อย ๆ ออกแรงกดตรงส้นเท้าพร้อมกับยกก้นขึ้น ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ

 

4. ท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว

  • นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง ค่อย ๆ แขม่วท้องค้างไว้ แล้วนับ 1-10 จากนั้นค่อย ๆ ปล่อย ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ

IMG_6617.JPEG
ps.png

Location

 513 Rama 9 Soi 13, Rama 9 Road

Bang Kapi Subdistrict, Huai Khwang District, Bangkok 10310

Contact phone number

  • Facebook
  • Line
  • Instagram

Opening hours

Monday-Sunday

9:00 a.m. - 8:00 p.m.

©2023 by Pace Wellness Clinic. Proudly created with Wix.com

bottom of page